ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ของ เอ็กซ์-เพรส เพิร์ล

หน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมชายฝั่ง (Marine Environment Protection Authority, සමුද්‍රීය පරිසර ආරක්ෂණ අධිකාරිය; MEPA) ของศรีลังกาประกาศดำเนินการตรวจสอบผลกระทบทางนิเวศ[11] ปรากฏมลภาวะการรั่วไหลของเม็ดพลาสติกถูกซัดขึ้นฝั่งของศรีลังกาแล้วตั้งแต่ 27 พฤษภาคม เช่นเดียวกับเม็ดพลาสติก LDPE[12] จากรายงานของ MEPA ระบุว่ามีคอนเทนเนอร์เม็ดพลาสติกจำนวนสามตู้อยู่บนเรือ แต่ละตู้บรรจุเม็ดพลาสติกน้ำหนักตู้ละ 26,000 กิโลกรัม[13]

เอ็นพีอาร์ โดย ลอเรล แวมสลี (Laurel Wamsley) เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม[14]

เจ้าหน้าที่มีประกาศแจ้งเตือนว่ามีความเสี่ยงเผชิญฝนกรดระดับอ่อนในศรีลังกา อันเป็นผลจากการรั่วไหลของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์[15] นอกจากนี้รัฐบาลยังประกาศห้ามทำการประมงในพื้นที่ตั้งแต่กลุตรา ไปถึง เนโฆมโบ ส่งผลให้มีเรือประมงแบบไปกลับจำนวน 5,600 ลำที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งนี้และรัฐบาลสัญญาว่าจะจ่ายเงินชดเชย[16]

หลังมีรายงานว่าเรือกำลังจมลงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ได้มีความกังวลอย่างมากถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรลึก[17] ในวันที่ 2 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ดำเนินการขึงไม่ให้ซากเรือถูกพัดออกไปไกลจากชายฝั่งมาก สำหรับการรั่วไหลของน้ำมันยังไม่เป็นที่แน่ใจ แต่ได้มีการจัดสรรเจ้าหน้าที่จับตาการรั่วไหลของน้ำมันเช่นกัน[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็กซ์-เพรส เพิร์ล http://www.theguardian.com/world/2021/may/31/sri-l... http://www.eagle.org/safenet/record/record_vesseld... //www.worldcat.org/issn/0261-3077 //www.worldcat.org/issn/0971-751X https://www.aljazeera.com/news/2021/6/2/sri-lanka-... https://www.bbc.com/news/world-asia-57327300 https://economynext.com/si-lanka-halts-coastal-fis... https://economynext.com/singapore-flagged-x-press-... https://economynext.com/x-press-pearl-stern-hits-b... https://www.france24.com/en/asia-pacific/20210602-...